การสร้างน้ำปัสสาวะ
การสร้างน้ำปัสสาวะ ประกอบด้วย 3 กระบวนการ ดังนี้
1. กระบวนการกรอง เกิดขึ้นที่โกลเมอรูลัส ทำให้สารที่มีโมเลกุลเล็กซึมผ่านมาพร้อมกับน้ำ เช่น แร่ธาตุ กลูโคส ยูเรีย กรดยูริก ปกติไตจะกรองเลือดได้ประมาณ 180 ลิตร/วันและถูกดูดกลับ เหลือออกเป็นปัสสาวะประมาณ 1 cc/นาที    หรือประมาณ 1,440 cc/วัน
2. กระบวนการดูดกลับเกิดขึ้นที่ท่อไตส่วนต้น และมากที่สุดที่ Loop of Henle สารที่ดูดกลับหมดได้แก่ กลูโคส วิตามิน C แร่ธาตุบางชนิด สารที่ดูดกลับหมดได้แก่ น้ำ เกลือ สารที่ไม่ดูดกลับเลยคือ โปรตีนอินนูลิน(Innulin)    สารที่มีการดูดกลับเป็นส่วนน้อย ได้แก่ ยูเรีย ฟอสเฟต ซัลเฟต ศูนย์ควบคุมการดูดกลับมาจากฮอร์โมน จากต่อมใต้สมองส่วนท้ายมากับกระแสเลือดชื่อ แอนติไดยูเรติกฮอร์โมน (Antidiuretic Hormone; ADH) โดย ADH    จะกระตุ้นให้รูระหว่างเซลล์ของท่อไตขยายขึ้นให้สารที่มีโมเลกุลเล็กกลับนำไปใช้ในร่างกายใหม่ ถ้าขาด ADH จะไม่เกิดกระบวนการดูดกลับคือจะปัสสาวะบ่อย จะเกิดโรค เบาจืด
3. กระบวนการหลั่งสารเพื่อให้เกิดการดูดกลับสมบูรณ์ เกิดขึ้นที่รอบๆ หน่วยไต สร้างสารต่าง ๆ เติมเข้าไปในพลาสมาที่กรองได้ เพื่อปรับ pH และความเข้มข้นของปัสสาวะ สารเหล่านี้ได้แก่ K+ (โปแตสเซียมอิออน), H+    (ไฮโดรเจนอิออน), กรดยูริก ทำหน้าที่ปรับความสมดุลในน้ำปัสสาวะ
   ลักษณะเนื้อเยื่อบางส่วนในไต ท่อไตประกอบด้วยกล้ามเนื้อเรียบเคลื่อนตัวแบบเพอริสตัลซิส เพื่อบีบตัวส่งน้ำปัสสาวะตกลงสู่ท่อปัสสาวะ
   กระเพาะปัสสาวะ ประกอบด้วยกล้ามเนื้อเรียบอยู่หลังกระดูกหัวเหน่า อยู่ด้านหลังมดลูกมีหน้าที่สะสมน้ำปัสสาวะ ความจุประมาณ 150-500 cc เมื่อกระเพาะปัสสาวะตึง ก็จะบีบตัวให้ปวดปัสสาวะ    โดยตรงโคลนของท่อปัสสาวะจะมีหูรูดโดยขึ้นอยู่กับอำนาจของาจิตใจ ปัสสาวะจะถูกขับออกทางท่อปัสสาวะ ในหญิงยาวประมาณ 1.5 นิ้ว ชายประมาณ 8 นิ้ว 1 วันจะขับถ่ายประมาณ 500-1,500 cc

 

 Home