Sign In
Sign-Up
Welcome!
Close
Would you like to make this site your homepage? It's fast and easy...
Yes, Please make this my home page!
No Thanks
Don't show this to me again.
Close
ไตทำหน้าที่อะไร
ไ
ตคนเรามี 2 ข้าง อยู่บริเวณข้างหลังใต้ชายโครง บริเวณบั้นเอว มีรูปร่างคล้ายถั่วเหลือง ยาวประมาณ 12 เซนติเมตร ประกอบด้วยหลอดเลือดฝอยมากมาย เรียกว่า หน่วยไต (Nephron) หน่วยไตนี้ จะลดจำนวนและเสื่อมสภาพไปตามอายุและไม่สามารถแบ่งตัวใหม่ได้
1. กำจัดของเสีย เมื่อร่างกายได้รับสารอาหาร จะมีการย่อยสลายนำส่วนที่เป็นประโยชน์ดูดซึมไปใช้เป็นพลังงานและซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ ในขณะเดียวกันเซลล์ร่างกายจะปล่อยของเสียออกสู่กระแสเลือด ผ่านมายังไต และถูกขับออกมากับปัสสาวะ นอกจากนี้ไตยังทำหน้าที่ขับยาและสารแปลกปลอมอื่นๆ ด้วย
2. ดูดซึมและเก็บสารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายไว้ สารบางประเภทแม้จะถูกกรองออกมาได้ แต่ถ้าเป็นสารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น น้ำตาล ฟอสเฟต และโปรตีน จะถูกดูดกลับโดยเซลล์ของหน่วยไต เพื่อนำกลับไปใช้เป็นประโยชน์ต่อร่างกายได้อีก
3. รักษาสมดุลน้ำของร่างกาย ไตเป็นตัวขับน้ำที่มีมากเกินความต้องการออกมา ดังนั้นจึงสังเกตได้ว่า ถ้าเราดื่มน้ำมาก หรืออากาศเย็น ปัสสาวะจะมีปริมาณมากและใส ในทางตรงกันข้าม หากร่างกายขาดน้ำ ไตจะพยายามสงวนน้ำไว้ทำให้ปัสสาวะมีประมาณน้อยและเข้มข้น
4. รักษาสมดุลเกลือแร่ของร่างกาย ไตที่ปกติจะขับส่วนเกินของเกลือส่วนเกินได้เสมอ แม้จะรับประทานเค็มมาก แต่ถ้าสมรรถภาพไตเสื่อมลง จากการเป็นโรคไต จะมีอาการบวมถ้ารับประทานเกลือมากเกินไป
5. รักษาสมดุลกรดด่างของร่างกาย ร่างกายของคนเราผลิตกรดทุกวัน จากการเผาผลาญอาหารโปรตีนที่รับประทานเข้าไป ในสภาวะที่ไตทำหน้าที่ปกติ จึงไม่มีกรดคั่งในร่างกาย ยกเว้นว่าไตมีความบกพร่อง เช่น ไตวายร่างกายจะมีสภาวะเป็นกรด
6. ควบคุมความดันโลหิต ความดันโลหิตสูงเป็นผลจากการผิดปกติ ในการควบคุมสมดุลน้ำ และเกลือ รวมทั้งการสร้างสารบางชนิดมาเพิ่มความดันโลหิต ผู้ป่วยโรคไตหลายชนิด จึงมักมีความดันโลหิตสูงร่วมด้วย เพราะไตถูกกระตุ้นให้สร้างสารที่ทำให้ความดันดลหิตสูงขึ้น
7. สร้างฮอร์โมน ไตปกติสามารถสร้างฮอร์โมนได้หลายชนิด เมื่อไตเป็นโรค การสร้างฮอร์โมนเหล่านั้นจะบกพร่องไป เช่น ผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังจะขาดฮอร์โมนเออริโธรพอยอิติน (Erythropoietin) ที่ควบคุมการสร้างเม็ดเลือดแดง ทำให้ผู้ป่วยมีอาการซีดเกือบทุกราย นอกจากนี้ไตยังผลิตฮอร์โมนอื่น เช่น วิตามินดีชนิด Calcitriol ซึ่งช่วยควบคุมการดูดซึมแคลเซียม นอกจากนี้การมีระดับวิตามินดี และแคลเซียมในลือดต่ำลง ยังเป็นสาเหตุสำคัญอย่างหนึ่ง ที่ทำให้ต่อม พาราธัยรอยด์ที่คอหลั่งฮอร์โมน ออกมามากผิดปกติ ซึ่งเป้นผลเสียต่ออวัยวะ หลายอย่างในร่างกาย
Home